วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

“เพลงเพื่อชีวิต”

“เพลงเพื่อชีวิต” เป็นบทเพลงที่อยู่คู่การชุมนุมเรียกร้อง...
แม้ปัจจุบัน “เพลงเพื่อชีวิต” จะเป็นรูปแบบบทเพลงพาณิชย์ แต่ยามใดที่บ้านเมืองเกิดเวที “ประท้วง-เรียกร้อง” ครั้งใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ เพลงเพื่อชีวิตก็จะหวนขึ้นเวทีอีกครั้งด้วยกลิ่งอายแบบเดิมๆ
เมื่อก่อนเพลงเพื่อชีวิตส่วนใหญ่จะถูกมองว่าเป็นเพลงของคอมมิวนิสต์ เพราะมีเนื้อหาสะท้อนเกี่ยวกับชีวิต-เสียดสีสังคม แต่ในปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามสภาพความเป็นไปของสังคม แต่ยังคงความหมายของเพลงเพื่อชีวิตไว้
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เพลงเพื่อชีวิตมีบทบาทค่อนข้างสูง ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
วงหงา คาราวาน เป็นกลุ่มศิลปินกลุ่มแรกๆ ที่ร่วมกันแต่งเพลงเพื่อระดม และปลุกใจให้แก่ผู้ชุมชุนประท้วง และในปัจจุบันกลุ่มศิลปินที่รู้จักกันดีว่าเป็นเจ้าพ่อแห่งเพลงเพื่อชีวิตคือ วงคาราบาวนั้นเอง เช่น เพลงสามัคคีประเทศไทย เมดอินไทยแลนด์ เรฟูจี เป็นต้น
“คราวผู้คนบนพื้นดินเดิม...ปากหมอง
ไยไม่มองไม่เคยเหลียวแลเห็นแก่ตัว
กิน...มีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น
วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ”

เพลงเพื่อชีวิตถือว่าเป็นเพลงที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนถึงปัญหาของชาติ อุดมการณ์ รวมไปถึงเพลงที่มีความหวัง ความศรัทธา เราจะเห็นแนวเพลงประมาณนี้บ่อยบทเวทีชุมชุนประท้วง
จากบทเพลง “ประท้วง” สู่บทเพลงแห่ง “อุดมการณ์” แล้วกลายเป็นเพลง “สะท้อนสังคม” เปลี่ยนไปตามกระแสสังคม การเมือง และความเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจ
ทำให้ในยุคหลังๆ เมื่อเกิดการการชุมนุมประท้วง เราก็จะได้ยินบทเพลงเพื่อชีวิตขึ้นที่นั้น มีการชุมนุมประท้วงก็จะเกิดบทเพลงใหม่ๆ ขึ้นด้วย ทำให้เพลงเพื่อชีวิตมีผู้คนฟังอย่างล้นหลามไม่แพ้เพลงแนวกระแสนิยมอื่นๆ

“เพลงเพื่อชีวิต เพื่ออุดมการณ์ เพื่อเสรีภาพและความหวัง”

ไม่มีความคิดเห็น: